ข้อมูลทั่วไป

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน


 

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาบ


 
1. สภาพทั่วไป
            1.1 ประวัติความเป็นมา
                        องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาบ  เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลแม่สาบ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล  ตามมาตรา 40 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 บัญญัติให้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลและให้โอนบรรดางบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิเรียกร้อง  หนี้สิน และเจ้าหน้าที่ของสภาตำบลไปเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกาศเมื่อวันที่  11  สิงหาคม  2542  และใช้ชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาบ บัดนั้นเป็นต้นมา
 
            1.2 ลักษณะที่ตั้ง
            ตำบลแม่สาบตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอสะเมิง  อยู่ห่างจากอำเภอสะเมิง
ระยะทาง  19  กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ   179.48 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ   112,177.18  ไร่
 
            1.3 ลักษณะภูมิประเทศ
            สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาอยู่ในเขตป่าสงวน  ที่อยู่อาศัยเป็นที่ราบระหว่างภูเขา  มีภูเขาล้อม
รอบมีแม่น้ำที่สำคัญคือ   แม่น้ำแม่สาบ  และแม่น้ำแม่ขาน
 
            1.4  อาณาเขตติดต่อ
                        ทิศเหนือ                       ติดต่อกับ           ตำบลป่าแป๋        อำเภอแม่แตง
                        ทิศใต้                           ติดต่อกับ           ตำบลบ่อแก้ว     
                        ทิศตะวันออก                ติดต่อกับ           ตำบลสะเมิงเหนือ   ตำบลสะเมิงใต้
                        ทิศตะวันตก                  ติดต่อกับ           ตำบลยั้งเมิน   ตำบลบ่อแก้ว
 
 
            1.5 เขตการปกครอง
                        จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาบ  มีทั้งหมด  10  หมู่บ้านประกอบด้วย 
                        หมู่ที่  1   บ้านแม่ขาน                  ผู้ใหญ่บ้านคือ     นายเพิ่มพูน  ติยานิน
                        หมู่ที่  2   บ้านอมลอง                   ผู้ใหญ่บ้านคือ     นายทักษิณ  ศรีวรรณะ
                        หมู่ที่  3   บ้านงาแมง                   ผู้ใหญ่บ้านคือ     นายบุญศรี  สายบุญมา 
                        หมู่ที่  4   บ้านปางเติม                 กำนันฯคือ          นายอนุรักษ์  แสนคำ 
                        หมู่ที่  5   บ้านแม่ตุงติง                 ผู้ใหญ่บ้านคือ     นายอุดม  อุทธาปา 
                        หมู่ที่  6   บ้านขุนสาบ                  ผู้ใหญ่บ้านคือ     นายดนุพล  ปู่อ้าย 
                        หมู่ที่  7   บ้านหาดส้มป่อย            ผู้ใหญ่บ้านคือ     นายวิมิตร  พุทธโส 
                        หมู่ที่  8   บ้านงิ้วเฒ่า                    ผู้ใหญ่บ้านคือ     นายศรีไพร  นิยะรัตน์ 
                        หมู่ที่  9   บ้านนากู่                      ผู้ใหญ่บ้านคือ     นายรัฐพงษ์  มอรูวี
                        หมู่ที่  10  บ้านทุ่งยาว                ผู้ใหญ่บ้านคือ     นายอดุลย์  สายบุญมา 
 
 
            1.6  จำนวนประชากร 
            ประชากรทั้งสิ้น  3,456  คน  แยกเป็นชาย  1,768  คน  หญิง  1,688  คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย 19 คน/ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเมืองพื้นถิ่น มีชาวเขา 2 หมู่บ้าน คือบ้านนากู่ หมู่ 9 เป็นชาวกระเหรี่ยงและลีซอ บ้านขุนสาบ หมู่ 6 เป็นชาวกระเหรี่ยง   นอกจากนั้นยังมีชนเผ่าอื่นๆ เช่น ไทยลื้อ ซึ่งมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมกันอย่างกลมกลืน
 
หมู่ที่ ครัวเรือน ชาย หญิง รวม
1 68 126 122 248
2 145 275 251 526
3 54 84 87 171
4 153 283 279 562
5 51 91 82 173
6 102 210 192 402
7 39 58 52 110
8 183 293 289 582
9 151 230 225 455
10 82 118 109 227
รวม 1,028 1,768 1,688 3,456
 
 
      หมายเหตุ  ข้อมูลตามทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 28  กุมภาพันธ์  2551
 
 
 
2. สภาพทางเศรษฐกิจ
            2.1 อาชีพ
ก. การเกษตร  มีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น  27,019.14   ไร่  พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  เช่น  กระเทียม  ข้าว     สตรอเบอรี่  ดอกเก๊กฮวย  หญ้าหวาน ถั่วแขก   ถั่วแระ   ถั่วลิสง   หอมแดง   กล้วยน้ำว้า ข้าวโพด 
ข. การปศุสัตว์  เช่น  การเลี้ยงโค  กระบือ  สุกร  ไก่  ปลาดุก  ฯลฯ
ค. การอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ดอกเก๊กฮวย หญ้าหวาน ผ้าทอบ้านงาแมง,ปางเติม ผ้าทอกระเหรี่ยงบ้านนากู่  การทำกล้วยฉาบ  การตีมีด
 
            2.2 การพาณิชยกรรม และการบริการ
                        สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม     
                        - สถานีน้ำมัน                 จำนวน    9   แห่ง  (ปั๊มหลอด)
                        - ร้านค้าทั่วไป                 จำนวน  28   แห่ง
                        - โรงสีข้าวขนาดเล็ก         จำนวน  15   แห่ง
                        ตำบลแม่สาบไม่มีหน่วยธุรกิจที่สำคัญในพื้นที่  มีแต่การประกอบกิจการขนาดเล็ก
 
            2.3  สถานที่ท่องเที่ยว
·        พระธาตุม่อนเปี้ยะ  เป็นโบราณสถานที่มีอายุมากกว่า  300  ปี  เป็นที่เคารพนับถือของชาวสะเมิง มีความเชื่อว่าพระธาตุแห่งนี้ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  (เกษาธาตุ)  ซึ่งตั้งเด่นอยู่บนภูเขาลูกเดียว  ล้อมรอบด้วยทุ่งนาและป่าเขาซึ่งเป็นธรรมชาติที่สวยงาน     ทุกปีคณะสงฆ์และราษฎรในอำเภอสะเมิงจะจัดพิธีอบรมสมโภชสรงน้ำพระธาตุในเดือน  6  เหนือ   ขึ้น  15  ค่ำ    พระธาตุตั้งอยู่ที่บ้านหาดส้มป่อยหมู่ที่7  ต.แม่สาบ  ห่างจากที่ว่าการอำเภอสะเมิงประมาณ  16  กิโลเมตร  การคมนาคมสะดวก
·        ผายอง     เป็นสถานที่ทางธรรมชาติสรรสร้างอย่างอัศจรรย์คือมีก้อนหินซ้อนกันคล้าย ๆ กับพระเจดีย์อินแขวนประเทศพม่า ราษฎรตำบลแม่สาบนับถือเป็นสถานที่สำคัญยึดมั่นจิตใจ  รอบ ๆ ผายองมี  หมู่บ้านชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอ(กะเหรี่ยง)  และหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลีซอที่ยังคงเป็นหมู่บ้านที่คงรักษาความเป็นอยู่โดยรูปแบบดั้งเดิมไว้  โดยเป็นหมู่บ้านชาวเขาที่มีประเพณีและวัฒนธรรมที่น่าสนใจ
·        โครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านแม่ตุงติงตามพระราชดำริ    ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านแม่ตุงติง  เกิดขึ้นโดยพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรบ้านแม่ตุงติงในคราวแรกเป็นสถานที่สาธิต   การปลูกหม่อน    เลี้ยงไหม   ทอผ้า    และการเกษตรนำร่อง การปศุสัตว์ รวมทั้งมีศูนย์ศิลปาชีพ  มีประชาชนทั้งในอำเภอและที่ต่าง ๆ มาเยี่ยมชมเป็นประจำ
 
·        พระธาตุดอยผาส้ม  ตั้งอยู่หมู่ ที่ 2 ตำบลแม่สาบเขตติดต่อกับบ้านอังคาย ตำบลยั้งเมิน เป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่ไม่ทราบปีที่สร้างที่แน่ชัด แต่ได้รับการบูรณะโดยครูบาเจ้าศรีวิชัย เมื่อประมาณ 70 ปีก่อน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการบูรณฟื้นฟูให้กลับมาสวยงามและเป็นที่เคารพศักการะของประชาชนทั่วไป
·        น้ำตกแม่นาเปอะ  ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลแม่สาบ เป็นน้ำตกสูง 7 ชั้นมีน้ำตลอดปี ยังคงความเป็นธรรมชาติและสวยงามอยู่ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบพจญภัย และท่องเที่ยวธรรมชาติ

3.สภาพทางสังคม
3.1 การศึกษา
·        โรงเรียนประถมศึกษา                                          5                     แห่ง
·        โรงเรียนมัธยมศึกษา  (ขยายโอกาส)                     1                     แห่ง 
·        ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน                          9                     แห่ง
·        ศูนย์อบรมเด็กเล็กก่อนวัยเรียน                              5                     แห่ง
·        ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน                                 1                      แห่ง  (ประจำตำบลแม่สาบ)  
 
3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา                     
·        วัด                                                              9                      แห่ง
·        สำนักสงฆ์                                                    2                      แห่ง
·        โบสถ์                                                          2                      แห่ง
 
3.4    ประเพณีทางวัฒนธรรมที่สำคัญ
·        ประเพณีปีใหม่ลีซอ                                        ช่วงเดือนมกราคม
·        ประเพณีสรงน้ำพระธาตุม่อนเปี๊ยะ                    ช่วงเดือนมีนาคม
·        ประเพณีดำหัวจุมนุม                                      ช่วงเดือนเมษายน
·        ประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยผาส้ม                   ช่วงเดือนพฤษภาคม
·        ประเพณีบูชาผายอง  (พืชมงคล)                     ช่วงเดือนพฤษภาคม
·        ประเพณีคริสมาสต์ขุนสาบ – นากู่                    ช่วงเดือนธันวาคม
 
3.5 สาธารณสุข
·        สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน          2               แห่ง
·        สถานบริการสาธารณสุขชุมชน               1               แห่ง
·        อัตราการมีใช้และส้วมราดน้ำ    ร้อยละ 97.52
 
 
 
 
 
3.6 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                  ไม่มีสถานีตำรวจและสถานีดับเพลิงในพื้นที่ตำบลแม่สาบ ไม่มีสายตราจ ตำบลแม่สาบอยู่ห่างจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเมิงประมาณ 19 กิโลเมตร แต่ยังไม่เคยเกิดคดีร้ายแรงหรือปัญหาอาชญากรรม
 
4. การบริการพื้นฐาน
4.1 การคมนาคม
การคมนาคมระหว่างตำบล  หมู่บ้าน   รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น  90  กิโลเมตร  มีรายละเอียดดังนี้
·        ถนนสายสะเมิง – บ่อแก้ว ระยะทาง 10 กิโลเมตร  จากเขตตำบลสะเมิงใต้  ผ่านบ้านแม่ขาน หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาบถึงเขตตำบลบ่อแก้ว ลักษณะเป็นถนนลาดยาง ก่อสร้างโดย  รพช. สภาพชำรุดบางส่วนแต่ยังสามารถสัญจรไปมาได้
·        ถนนสายแม่ขานใหม่ - ห้วยทรายขาว จากบ้านแม่ขาน หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาบ ผ่านบ้านหาดส้มป่อย หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สาบ ถึงเขตติดต่อตำบลยั้งเมิน บ้านอมลอง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่สาบ ระยะทาง 10 กิโลเมตร ลักษณะเป็นถนนลาดยาง 8  กิโลเมตร  ถนนลูกรัง 2 กิโลเมตร สร้างโดยรพช.และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีช่วงที่เป็นถนนลูกรังบดอัด จากบ้านหาดส้มป่อยหมู่ที่ 7 ถึงบ้านอมลอง หมู่ที่ 2 ระยะทาง 2 กิโลเมตร สภาพขรุขระเป็นหลุมบ่อ สัญจรไปมาค่อนข้างลำบากในฤดูฝน
·        ถนนสาย 6033 จากบ้านแม่สาบเหนือ ตำบลสะเมิงใต้ ถึงบ้านแม่ตุงติง หมู่ที่ 5 ตำบลแม่สาบระยะทาง 18 กิโลเมตร ลักษณะเป็นถนนลาดยาง สภาพใช้งานได้ ก่อสร้างโดย สำนักงานทางหลงชนบท
·        ถนนลำลองระหว่างหมู่บ้านจากปากทางหมู่บ้านงิ้วเฒ่า  หมู่ที่  8  ตำบลแม่สาบ  ถึงบ้านอมลอง หมู่ที่  2  ระยะทาง 16 กิโลเมตร, หมู่บ้านงิ้วเฒ่า หมู่ที่ 8 ตำบลแม่สาบถึงบ้านนากู่ หมู่ที่  9 ตำบลแม่สาบ ระยะทาง  12  กิโลเมตร, บ้านนากู่ หมู่ที่  9  ตำบลแม่สาบถึงบ้านขุนสาบหมู่ที่  6 ตำบลแม่สาบ  สายที่  1  ระยะทาง 15 กิโลเมตร, สายที่ 2  ระยะทาง  6  กิโลเมตร, บ้านขุนสาบ หมู่ที่ 6 ตำบลแม่สาบถึงบ้านทุ่งยาว หมู่ที่ 10 ตำบลแม่สาบ ระยะทาง  8  กิโลเมตร, บ้านทุ่งยาว หมูที่ 10 ตำบลแม่สาบถึงเขตบ้านแม่แพะ ตำบลสะเมิงเหนือ ระยะทาง  6  กิโลเมตร, บ้านปางเติม หมู่ที่ 4 ตำบลแม่สาบถึงบ้านใหม่ต้นผึ้ง หมู่ที่  4  ตำบลแม่สาบ  ระยะทาง  6  กิโลเมตร, บ้านแม่ตุงติง หมู่ที่  5  ตำบลแม่สาบถึงเขตบ้านแม่แพะ  ตำบลสะเมิงเหนือ  ระยะทาง  6  กิโลเมตร    ฤดูแล้งสามารถสัญจรไปมาได้  ฤดูฝนค่อนข้างลำบากและเดินทางไม่ได้
 
4.2 การโทรคมนาคม
·        ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข  1  แห่ง (เอกชน)
·        มีการให้บริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์  7  แห่ง  ดำเนินการโดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นโทรศัพท์สาธารณะชนบท
·        มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ  9  แห่ง (ใช้การได้บางส่วน)
 
 
 
4.3  การไฟฟ้า
·        หมู่บ้านที่มีไฟฟ้าเข้าถึง  9  หมู่บ้าน  คือ  หมู่ที่  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 10 จำนวน 696 ครัวเรือน
·        หมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้  1  หมู่บ้าน คือ หมู่ที่  9  บ้านนากู่ รวม 68 ครัวเรือน เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าโซนเอ ไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์เดินกระแสไฟได้  โดยการไฟฟ้าได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนไปก่อน
 
5. ข้อมูลอื่นๆ
            5.1 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                  ลักษณะภูมิอากาศ   อากาศเย็นสบายตลอดปี             
- อุณหภูมิโดยทั่วไป         22  องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย        35  องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิต่ำสุด  7   องศาเซลเซียส
 
 
      5.2  แหล่งน้ำธรรมชาติ
·        แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านพื้นที่  มี 2  สาย คือน้ำแม่ขาน น้ำแม่สาบ  
·        ลำห้วยหรือลำน้ำสำคัญที่ไหลผ่านพื้นที่  มี  5  สาย คือห้วยแม่อมลอง,ห้วยแม่แพะ,ห้วยแม่ตุงติง,ห้วยแม่แขะ,ลำน้ำแม่พร้าว,
 
5.3 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
·        บ่อน้ำตื้น มี 32 บ่อ
·        สระน้ำหรือแหล่งเก็บน้ำสะอาดบนผิวดินอื่น ๆ มี  47  แห่ง
·        ประปาหมู่บ้าน  มี  8  แห่ง
·        ประปาภูเขา  มี  19  แห่ง
·        หมู่บ้านที่ยังไม่มีระบบประปา  มี  1  หมู่
·        หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำใช้  มี  5  หมู่
·        บ่อบาดาลมี  3  แห่ง
 
 
5.4 : ป่าไม้                                                       
                        1. ป่าเต็งรัง หรือป่าแพะ หรือป่าแดง หรือป่าโคก      สภาพพื้นที่ค่อนข้างลาดชันสูง เป็นดินลูกรังมีหินโผล่  ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  กระจายทั่วไป  พันธุ์ไม้ที่สำคัญ  ได้แก่  เต็ง  รัง   สนเขา ไผ่  เป็นต้น
                        2. ป่าเบญจพรรณ  หรือป่าผสมผลัดใด  ประกอบด้วยไม้สัก  พันธุ์ไม้ที่สำคัญ  ได้แก่  ประดู่ป่า  สัก  ตะเคียนหนู  มะกอก  เป็นต้น
 
 
 
 
 
6. ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
            การรวมกลุ่มของประชาชน
·        การรวมกลุ่มของประชาชนในพื้นที่  ส่วนมากจะเป็นการรวมกลุ่มในแต่ละหมู่บ้าน  เช่น  กลุ่มสตรีหมู่ ต่าง ๆ กลุ่มทำไม้กวาด  กลุ่มทอผ้า
            จุดเด่นของพื้นที่  (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล)
·        สถานที่ส่วนใหญ่ยังเป็นสังคมเกษตรกรรม  ควรได้รับการส่งเสริมทางด้านการเกษตรทฤษฎีใหม่  เพื่อส่งเสริมแนงทางตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและยังลดการใช้สารเคมีที่ไม่จำเป็นอันอาจเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมและประชาชน
            รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
 
·        ประจำปีงบประมาณ  2550
1.รายได้ที่จัดเก็บเอง
หมวดภาษีอากร                                                              22,636.14  บาท
หมวดค่าธรรมเนียม,ค่าปรับและค่าใบอนุญาต                      23,590.49  บาท
หมวดรายได้จากทรัพย์สิน                                                48,390.35  บาท
หมวดรายได้เบ็ดเตล็ด                                                      27,951.00  บาท
                               2.รายได้ที่รัฐจัดสรรให้
                                    หมวดภาษีจัดสรร                                                       5,715,251.23  บาท
                               3.รายได้ที่รัฐอุดหนุนให้
                                    เงินอุดหนุนทั่วไป                                                        3,853,623.00  บาท
                                    เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ                                                   3,143,388.00  บาท
                                                รวมรายรับ                                                   12,834,830.21  บาท
 
 
 
7. ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
(1)     จำนวนบุคลากร
            ข้าราชการ                                            จำนวน                7        คน
                        ลูกจ้างประจำ                                          จำนวน                1        คน
                        พนักงานจ้างตามภารกิจ                           จำนวน               4        คน
                        พนักงานจ้างทั่วไป                                   จำนวน                2        คน
                        ครูผู้ดูแลเด็ก                                           จำนวน                4        คน
                                                                              รวมทั้งสิ้น               18         คน      
 
            (2) ตำแหน่งในแต่ละส่วน
            ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาบ         จำนวน              1          คน       
            ตำแหน่งในสำนักปลัด                             จำนวน              4          คน
ตำแหน่งส่วนการคลัง                               จำนวน              0          คน
ตำแหน่งในส่วนโยธา                                จำนวน              1          คน
ตำแหน่งในส่วนการศึกษา                         จำนวน              1          คน
ลูกจ้างประจำ                                          จำนวน              1          คน
พนักงานจ้างตามภารกิจ                           จำนวน              4          คน
พนักงานจ้างทั่วไป                                   จำนวน              6          คน
 
 
 
            (3) ระดับการศึกษาของบุคลากร 
                        ประถมศึกษา                                          จำนวน              1          คน
                        มัธยมศึกษาตอนต้น                                 จำนวน              1          คน
                        มัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.                   จำนวน              7          คน
                        ปวส./อนุปริญญา                                     จำนวน              2          คน
                        ปริญญาตรี                                             จำนวน              5          คน
                        สูงกว่าปริญญาตรี                                    จำนวน              2          คน
 
 
 

โครงสร้างการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาบ
 
            องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาบ  เปลี่ยนแปลงฐานะจากสภาตำบลแม่สาบมาเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาบ  เมื่อวันที่  11  สิงหาคม  2542 เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างคล่องตัว  และสามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยมีรูปแบบการบริหารงาน  ดังนี้


 
หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
            หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.2537 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ.2546)
            องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล   ดังต่อไปนี้
                        1. จัดให้มีและบำรุงรักษาทาน้ำและทางบก
                        2. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
                        3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
                        4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                        5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
                        6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
                        7. คุ้มครอง  ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                        8. บำรุงศิลปะ  จารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
                        9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำ
  เรื่อง วันที่
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ   ดาวน์โหลด -